วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

เคส ตำรวจทำผิดกฎ


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตำรวจกลางคืน


1. ความหมายของคำว่า ด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด
1.1 ด่านตรวจ หมายถึง สถานที่ทำการที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหาน้าที่ในการตรวจค้นเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถ (ความหมายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2535) โดยระบุสถานที่ไว้ชัดแจ้งเป็นการถาวร การตั้งด่านตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจาก ครม. หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือ กอ.รมน.แล้วแต่กรณี
1.2 จุดตรวจ หมายถึง สถานที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถหรือทางหลวงในกรณีปกติเป็นการชั่วคราว โดยมีกำหนดระยะเวลาเท่าที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว แต่ต้องไม่เกิน 24 ชั่วโมง และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้วจะต้องยุบเลิกจุดตรวจดังกล่าวทันที
1.3 จุดสกัด หมายถึง สถานที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถ หรือทางหลวง ในกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้นเป็นการชั่วคราวและจะต้องยุบเลิกเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจดังกล่าว
 2. การจัดตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด
2.1 ห้ามมิให้ตั้งด่านตรวจ จุดตรวจหรือจุดสกัด ในเขตทางเดินรถหรือ ทางหลวงเว้นแต่
2.1.1 ด่านตรวจ การจัดตั้งด่านตรวจจะกระทำได้ ต้องได้รับอนุมัติจาก ครม. หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือ กอ.รมน. แล้วแต่กรณี
2.1.2 จุดตรวจ การตั้งจุดตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ชั้น ผบก.ขึ้นไป โดยพิจารณาว่าเป็นกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นอย่างยิ่ง และต้องมีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง
2.1.3 การจัดตั้งจุดสกัด จะตั้งได้เฉพาะกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้น และจะต้องได้รับอนุมัติาจากผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ระดับหัวหน้าสถานีตำรวจหรือผู้รักษาการแทนขึ้นไป โดยมีกำหนดระยะเวลาเท่าที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนดังกล่าวยังคงมีอยู่เท่านั้น
2.2 ให้เลิกด่านตรวจ จุดตรวจ ที่ตั้งขึ้นไม่ตรงตามวัตถุประสงค์และความหมายตามข้อ 1 และ 2 ทั้งหมดตั้งแต่บัดนี้
3.1 การปฏิบัติหน้ามี่ ณ ด่านตรวจ จุดตรวจหรือจุดสกัด จะต้องมีนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเป็นหัวหน้า และจะต้องแต่งเครื่องแบบในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
3.2 การปฏิบัติในการตรวจค้น จับกุม ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ว่าด้วยการนั้นโดยเคร่งครัด
3.3 ที่ด่านตรวจหรือจุดตรวจ ต้องมีแผงกั้นที่มีเครื่องหมายการจราจรว่า “หยุด” โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ด่านตรวจหรือจุดตรวจ จะต้องมีในการติดตั้งป้ายและเครื่องหมายการจราจร และในเวลากลางคืนจะต้องให้มีแสงไฟส่องสว่างให้มองเห็นได้อย่าง ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตรก่อนถึงจุดตรวจ และให้มีแผ่นป้ายแสดงยศ ชื่อ นามสกุล และตำแหน่งของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประจำด่านตรวจและจุดตรวจดังกล่าวนอกจากนั้นให้มีแผ่นป้ายแสดงข้อความว่า “หากพบเจ้าหน้าที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบให้แจ้ง ผู้บังคับการ โทร……………….”(ให้ใส่หมายเลขโทรศัพท์ของ ผบก.ไว้ ข้อความดังกล่าวข้างต้นให้มองเห็นได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 15 เมตร
 3.4 การตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัด ให้ทุกหน่วยประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยใกล้เคียงให้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบติดต่อกัน โดยมิให้เกิดการตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัดซ้ำซ้อนอันเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้สัญจร ไปมาเป็นอันขาด
4. การควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติ
4.1 เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเริ่มต้น หรือเลิกปฏิบัติหน้าที่ประจำจุดตรวจหรือ จุดสกัด ให้รายงานทาง ว. ให้ผู้บังคับบัญชาผู้สั่งอนุมัติให้ตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัดดังกล่าวทราบ และเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติแล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำจุดตรวจ หรือจุดสกัดดังกล่าว รายงานผลการปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้สั่งอนุมัติภายในวันถัดไปเป็นอย่างช้า
4.2 ให้ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ระดับ สว. ขึ้นไป ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกตรวจการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำด่านตรวจ จุดตรวจหรือจุดสกัด 


อ้างอิงhttp://krungthep.coconuts.co/2015/10/09/traffic-police

ยกเลิกตั้งด่านลอย ตรวจพบเจอเด้ง


สตช. สั่งเอง พบตำรวจตั้งด่านลอยแจ้งร้องเรียนได้ทันที



สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีคำสั่งให้ยกเลิกการตั้งด่านลอยทุกชนิดทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนตำรวจนครบาล ตำรวจทางหลวง ตำรวจภูธร โดยให้ยกเลิกตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม เป็นต้นไป หลังได้รับการร้องเรียนจากประชาชนเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามหากเจ้าหน้าที่ต้องการจะตั้งด่าน จะต้องมีเจ้าหน้าที่ระดับสารวัตรเป็นผู้ควบคุมประจำด่าน และมีการติดป้ายชัดเจน รวมถึงต้องรายงานผู้บังคับบัญชาว่าจะตั้งด่านจุดไหนและเป็นด่านประเภทใด อาทิ ด่านมั่นคง ด่านแอลกอฮอล์ เป็นต้น

สำหรับมาตรการดังกล่าวเป็นหนึ่งในมาตรการสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเพื่อเป็นการลดข้อครหาเรื่องเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรถูกต่อว่าว่าได้เปอร์เซ็นต์ หรือส่วนแบ่งจากการออกใบสั่งจราจร จึงจะมีการเสนอติดตั้งกล้องวงจรปิดจับภาพผู้ฝ่าฝืนกฎจราจร โดยจะมีการติดตั้งระบบกล้องและระบบใบสั่งทั้งระบบภายใน 3 เดือน ขยายอายุใบสั่งจาก 1 ปีเป็น 3 ปี

ทั้งนี้ หากประชาชนพบเห็นว่ามีการตั้งด่านลอย ให้ถ่ายภาพนิ่งหรือคลิปวิดีโอส่งเข้ามาช่องทาง เฟซบุ๊ก "โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ" และทวิตเตอร์ "รายงานสภาพการจราจร ตร." รวมถึงสามารถโทรศัพท์เข้ามาร้องเรียนได้ที่หมายเลข 1197 ส่วนบทลงโทษเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ฝ่าฝืนคำสั่งห้ามตั้งด่านลอยจะให้มาช่วยราชการหรือสั่งย้ายทันทีโดยไม่ละเว้นว่าจะเป็นตำรวจขั้นไหน
 

ยกเลิกตั้งด่านในกลางวัน ส่วนกลางคืนเริ่ม21.00 น.


ห้ามตำรวจตั้งด่านรีดไถ ฝ่าฝืนคุก ออกจากราชการ

 ห้ามตำรวจตั้งด่านรีดไถ ฝ่าฝืนคุก ออกจากราชการ

            ทนายคลายทุกข์ขอนำข่าวจากหนังสือพิมพ์ข่าวสด เกี่ยวกับคำสั่ง ผบ.ตร.ห้ามตำรวจตั้งด่านเถื่อน รีดไถประชาชน โดยเฉพาะมอเตอร์ไซด์ ปิกอัพ แท็กซี่ หากฝ่าฝืนแจ้ง ผบ.ตร. ลงโทษหนักทั้งวินัยและอาญา หวังว่าจะเป็นเรื่องจริง และปฏิบัติได้จริง เพราะคนขี่รถมอเตอร์ไซด์เดือดร้อนหนัก ถูกรีดไถทุกวัน ตรวจตั้งแต่ใบอนุญาต จนถึงการแต่งกาย หาทางรีดไถทุกเรื่อง หากแก้ไขได้จริง ภาพพจน์ สตช.น่าจะดีขึ้น แต่ผมยังไม่เชื่อว่าจะทำได้ ถึงอย่างไรก็ให้โอกาส ผบ.ตร.

รายงานข่าวจากเวปไซด์ข่าวสด

"ผบ.ตร."สั่งห้ามจราจรตั้งด่านเถื่อน ฝ่าฝืน"ผกก.-สว."เจอลงโทษเด็ดขาด

            เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พล.ต.ต.เรืองศักดิ์ จริตเอก รองผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะรองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณผบ.ตร. ตระหนักถึงความเดือดร้อนของประชาชนเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจจราจร จึงออกมาตรการการกวดขัน และกำชับการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ ของตำรวจจราจร และตำรวจทางหลวง ให้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อเสริมสร้างวินัยจราจรอย่างแท้จริง และเน้นว่าต้องอำนวยความสะดวกประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วประเทศ ตำรวจจราจรผู้ใดฝ่าฝืนทำหน้าที่โดยไม่ถูกต้องทำให้ประชาชนเดือดร้อน จะลงโทษสถานหนัก ทั้งทางวินัยและอาญา

            "เน้นให้ตำรวจจราจรและตำรวจทางหลวงกวดขันวินัยจราจรโดยให้คำนึงถึงการอำนวยความสะดวกการจราจรเป็นประการสำคัญ การตั้งจุดตรวจหรือตั้งด่านต้องหลีกเลี่ยงการตั้งในที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาจราจร เช่น ทางโค้ง ทางแคบ ทางลาดชัน หรือทางขึ้นลงสะพาน และห้ามตั้งด่านที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ "ด่านเถื่อน" หรือการซุ่มจับ แอบจับในที่ลับตาเป็นอันขาด ซึ่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติเน้นให้ตักเตือนก่อนจับปรับอย่างเฉียบขาดทุกราย การออกใบสั่งนั้นให้กระทำการเสร็จสิ้นภายใน 5 นาที เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่โปร่งใส" พล.ต.ต.เรืองศักดิ์กล่าว และว่า ให้ผู้บังคับบัญชาสอดส่องดูแลผู้ใต้บังคับบัญชามิให้มีการเรียกรับผลประโยชน์เป็นอันขาด หากปล่อยปละละเลยไม่สนใจ ให้พิจารณาทัณฑ์ ผกก. รอง ผกก. และ สว.ผู้รับผิดชอบ ฐานบกพร่องต่อหน้าที่ ซึ่ง ผบ.ตร.จะลงโทษเด็ดขาด

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าวจากเวปไซด์ข่าวสด

กว่าจะมาเป็นตำรวจ(ตำรวจกลางคืน)


วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

เรื่อง มาตรการการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด บันทึกข้อความของตำรวจ

ยามที่ปรากฏข่าวว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งด่านตรวจหรือจุดตรวจ เพื่อเรียกรับ ผลประโยชน์จากผู้ใช้รถใช้ถนน ในการสัญจรไปมาตามถนนหลวง ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนโดยทั่วไป ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด เพื่อให้ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติดังนี้
1. ความหมายของคำว่า ด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด
1.1 ด่านตรวจ หมายถึง สถานที่ทำการที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหาน้าที่ในการตรวจค้นเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถ (ความหมายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2535) โดยระบุสถานที่ไว้ชัดแจ้งเป็นการถาวร การตั้งด่านตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจาก ครม. หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือ กอ.รมน.แล้วแต่กรณี
1.2 จุดตรวจ หมายถึง สถานที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถหรือทางหลวงในกรณีปกติเป็นการชั่วคราว โดยมีกำหนดระยะเวลาเท่าที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว แต่ต้องไม่เกิน 24 ชั่วโมง และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้วจะต้องยุบเลิกจุดตรวจดังกล่าวทันที
1.3 จุดสกัด หมายถึง สถานที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถ หรือทางหลวง ในกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้นเป็นการชั่วคราวและจะต้องยุบเลิกเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจดังกล่าว
/ 2. การจัดตั้ง…
2. การจัดตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด
2.1 ห้ามมิให้ตั้งด่านตรวจ จุดตรวจหรือจุดสกัด ในเขตทางเดินรถหรือ ทางหลวงเว้นแต่
2.1.1 ด่านตรวจ การจัดตั้งด่านตรวจจะกระทำได้ ต้องได้รับอนุมัติจาก ครม. หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือ กอ.รมน. แล้วแต่กรณี
2.1.2 จุดตรวจ การตั้งจุดตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ชั้น ผบก.ขึ้นไป โดยพิจารณาว่าเป็นกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นอย่างยิ่ง และต้องมีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง
2.1.3 การจัดตั้งจุดสกัด จะตั้งได้เฉพาะกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้น และจะต้องได้รับอนุมัติาจากผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ระดับหัวหน้าสถานีตำรวจหรือผู้รักษาการแทนขึ้นไป โดยมีกำหนดระยะเวลาเท่าที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนดังกล่าวยังคงมีอยู่เท่านั้น
2.2 ให้เลิกด่านตรวจ จุดตรวจ ที่ตั้งขึ้นไม่ตรงตามวัตถุประสงค์และความหมายตามข้อ 1 และ 2 ทั้งหมดตั้งแต่บัดนี้
3. การปฏิบัติ
3.1 การปฏิบัติหน้ามี่ ณ ด่านตรวจ จุดตรวจหรือจุดสกัด จะต้องมีนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเป็นหัวหน้า และจะต้องแต่งเครื่องแบบในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
3.2 การปฏิบัติในการตรวจค้น จับกุม ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ว่าด้วยการนั้นโดยเคร่งครัด
3.3 ที่ด่านตรวจหรือจุดตรวจ ต้องมีแผงกั้นที่มีเครื่องหมายการจราจรว่า “หยุด” โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ด่านตรวจหรือจุดตรวจ จะต้องมีในการติดตั้งป้ายและเครื่องหมายการจราจร และในเวลากลางคืนจะต้องให้มีแสงไฟส่องสว่างให้มองเห็นได้อย่าง ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตรก่อนถึงจุดตรวจ และให้มีแผ่นป้ายแสดงยศ ชื่อ นามสกุล และตำแหน่งของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประจำด่านตรวจและจุดตรวจดังกล่าวนอกจากนั้นให้มีแผ่นป้ายแสดงข้อความว่า “หากพบเจ้าหน้าที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบให้แจ้ง ผู้บังคับการ โทร……………….”(ให้ใส่หมายเลขโทรศัพท์ของ ผบก.ไว้ ข้อความดังกล่าวข้างต้นให้มองเห็นได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 15 เมตร
/ 3.4 …
3.4 การตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัด ให้ทุกหน่วยประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยใกล้เคียงให้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบติดต่อกัน โดยมิให้เกิดการตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัดซ้ำซ้อนอันเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้สัญจร ไปมาเป็นอันขาด
4. การควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติ
4.1 เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเริ่มต้น หรือเลิกปฏิบัติหน้าที่ประจำจุดตรวจหรือ จุดสกัด ให้รายงานทาง ว. ให้ผู้บังคับบัญชาผู้สั่งอนุมัติให้ตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัดดังกล่าวทราบ และเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติแล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำจุดตรวจ หรือจุดสกัดดังกล่าว รายงานผลการปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้สั่งอนุมัติภายในวันถัดไปเป็นอย่างช้า
4.2 ให้ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ระดับ สว. ขึ้นไป ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกตรวจการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำด่านตรวจ จุดตรวจหรือจุดสกัด ที่มีอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
4.3 ให้ถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาตาม 4.2 ที่จะต้องเอาใจใส่กวดขัน ดูแลการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใต้บังคับบัญชาของตน มิให้ฉวยโอกาสขณะปฏิบัติหน้าที่ประจำด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัด เรียกหรือรับผลประโยชน์จากผู้ใช้รถที่กระทำผิดกฎหมาย หรือไปดำเนินการจัดตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัด ในเขตเดินรถหรือทางหลวง โดยมิได้ รับคำสั่งจากผู้มีอำนาจ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ และหากตรวจพบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใดประพฤติมิชอบในลักษณะดังกล่าว ก็ให้รีบพิจารณาดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ผู้นั้น ไปตามอำนาจหน้าที่ ทั้งทางคดีอาญาและคดีวินัย แล้วรายงานให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น จนถึง ตร. ทราบโดยมิชักช้า โดยรายงานดังกล่าว ให้ระบุ ยศ นาม ตำแหน่งของข้าราชการตำรวจผู้กระทำผิด พร้อมกับรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะและพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดให้ละเอียดชัดเจน
4.4 หากปรากฎว่าผู้บังคับบัญชาในระดับตั้งแต่กองบังคับการหรือเทียบเท่าขึ้นไปหรือตำรวจอื่น สืบสวนข้อเท็จจริงจนปรากฏชัดเจน หรือตรวจตราพบว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ณ ด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัดที่ใด มีพฤติการณ์มิชอบดังกล่าว ตาม 4.3 หรือจับกุมตัวได้ โดยลักษณะของพฤติการณ์เป็นการกระทำร่วมหลายคน และ หรือ เป็นระยะเวลา
/ ต่อเนื่อง…
ต่อเนื่องกันหลายวัน ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาทัณฑ์ทางวินัย แก่ผู้บังคับบัญชาที่ใกล้ชิดของ เจ้าหน้าที่ตำรวจที่กระทำผิดดังลก่าวฐานบกพร้องละเลยไม่เอาใจใส่ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ของตนอีกส่วนหนึ่งด้วย
4.5 ให้ ผบช., ก., น., ภ.1 – 9 ตชด. และ จตร. ติดตามผลการปฏิบัติตามนัยบันทึกสั่งการนี้รายงานผลการปฏิบัติให้ ตร. ทราบภายในวันที่ 7 ของแต่ละเดือน ในรายงานให้ ปรากฏด้วยว่าได้มอบหมายให้ตรวจติดตาม และมีผลการปฏิบัติเป็นอย่างไร ทั้งนี้ให้ปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
5. ให้ยกเลิกหนังสือสั่งการของ ตร. ด่วนที่สุดที่ 0520.23/427 ลง 13 ม.ค.2536 เรื่อง มาตรการกวดขันเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด
เพื่อทราบและถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป
พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก
(ประชา พรหมนอก)

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ตำรวจกลางคืน?

รู้ไหมครับว่าตำรวจกลางคืน หรือที่เรารู้จักกันในตำรวจเวร คือใคร ทำอะไร ?

(อ้างอิงhttp://www.banmuang.co.th/news/crime/14204)
ตำรวจกลงคืนนั้นก็เหมือนกับตำรวจทั่วไปแหละครับ เเต่เขามีภาระกิจพิทักษ์สันติราชในเวลากลางคืนเท่านั้นเอง ต่างจากการทำงานทั่วไป ซึ่งตำรวจทุกคนก็ต้องผ่านการทำงานเวลานี้มาทั้งนั้นซึ่งจะเรียกว่า เข้าเวร

ตอนกลางคืนตำรวจทำอะไรบ้าง?


สิ่งที่เราเห็นเป็นประจำในตอนกลางคืนก็คือตั้งด่านครับ ด่านไว้คอยตรวจจับความเร็ว ตรวจจับเมาเเล้วขับ หรือเเม้กระทั้งเป็นจุดพักให้กับประชาชนที่ขับรถมาทั้งวันเหนื่อยเพลีย หรืออาจจะได้รับข้อมูลการทำผิดการตั้งด่านก็คอยตรวจจับการขนส่งที่ผิดกฎหมายด้วย

เราเคยเห็นไหม ว่าตอนดึกๆ ตำรวจขับรถเข้ามาในหมู่บ้านเราทำไม หน้าที่ของตำรวจอีกอย่างที่เราพบเจอได้บ่อยนั้นก็คือ ออกตรวจตามจุดต่างๆไม่ว่าจะเป็นหอพัก หมู่บ้าน. ซึ่งเป็นการสอดส่องดูเเลประชาชน นี่เเหละครับผู้พิทักษ์สันติราช

เหตุด่วนเหตุร้ายเเจ้งความได้24ชั่วโมง ร้ายครั้งที่เหตุการณร้ายๆคืบคลานมาหาเราในตอนกลางคืน จนเราไม่ทันตั้งตัว เราจึงต้องหันหน้าหาตำรวจ ซึ่งโรงพักหรือสถานีตำรวจก็เปิดบริการ24ชั่วโมง เราสามารถโทรไปแจ้งความ หรือไปเเจ้งความที่โรงพักได้เลย ซึ่งที่นั่นก็จะมีตำรวจคอยบริการประชาชนอยู่ตลอด หรือเเม้เเต่เกิดอุบัติเหตุ รถมีปัญหา ผู้พิทักษ์สันติราชก็พร้อมจะเคียงข้างประชาชนตลอด24ชั่วโมง

นี่เป็นเพียงตัวอย่างอันน้อยนิดของตำรวจเวรหรือตำรวจกลางคืนน่ะครับ ซึ่งบล็อคนี้สร้างขึ้นมา เพื่อบอกให้ทราบถึงหน้าที่ตำรวจกลางคืน หรือภาระกิจต่างๆของตำรวจเวร ซึ่งจะทำให้เราเห็นว่าตำรวจนั้นทำงานเพื่อประชาชนจริงๆ