วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

เรื่อง มาตรการการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด บันทึกข้อความของตำรวจ

ยามที่ปรากฏข่าวว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งด่านตรวจหรือจุดตรวจ เพื่อเรียกรับ ผลประโยชน์จากผู้ใช้รถใช้ถนน ในการสัญจรไปมาตามถนนหลวง ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนโดยทั่วไป ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด เพื่อให้ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติดังนี้
1. ความหมายของคำว่า ด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด
1.1 ด่านตรวจ หมายถึง สถานที่ทำการที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหาน้าที่ในการตรวจค้นเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถ (ความหมายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2535) โดยระบุสถานที่ไว้ชัดแจ้งเป็นการถาวร การตั้งด่านตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจาก ครม. หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือ กอ.รมน.แล้วแต่กรณี
1.2 จุดตรวจ หมายถึง สถานที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถหรือทางหลวงในกรณีปกติเป็นการชั่วคราว โดยมีกำหนดระยะเวลาเท่าที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว แต่ต้องไม่เกิน 24 ชั่วโมง และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้วจะต้องยุบเลิกจุดตรวจดังกล่าวทันที
1.3 จุดสกัด หมายถึง สถานที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถ หรือทางหลวง ในกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้นเป็นการชั่วคราวและจะต้องยุบเลิกเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจดังกล่าว
/ 2. การจัดตั้ง…
2. การจัดตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด
2.1 ห้ามมิให้ตั้งด่านตรวจ จุดตรวจหรือจุดสกัด ในเขตทางเดินรถหรือ ทางหลวงเว้นแต่
2.1.1 ด่านตรวจ การจัดตั้งด่านตรวจจะกระทำได้ ต้องได้รับอนุมัติจาก ครม. หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือ กอ.รมน. แล้วแต่กรณี
2.1.2 จุดตรวจ การตั้งจุดตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ชั้น ผบก.ขึ้นไป โดยพิจารณาว่าเป็นกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นอย่างยิ่ง และต้องมีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง
2.1.3 การจัดตั้งจุดสกัด จะตั้งได้เฉพาะกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้น และจะต้องได้รับอนุมัติาจากผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ระดับหัวหน้าสถานีตำรวจหรือผู้รักษาการแทนขึ้นไป โดยมีกำหนดระยะเวลาเท่าที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนดังกล่าวยังคงมีอยู่เท่านั้น
2.2 ให้เลิกด่านตรวจ จุดตรวจ ที่ตั้งขึ้นไม่ตรงตามวัตถุประสงค์และความหมายตามข้อ 1 และ 2 ทั้งหมดตั้งแต่บัดนี้
3. การปฏิบัติ
3.1 การปฏิบัติหน้ามี่ ณ ด่านตรวจ จุดตรวจหรือจุดสกัด จะต้องมีนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเป็นหัวหน้า และจะต้องแต่งเครื่องแบบในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
3.2 การปฏิบัติในการตรวจค้น จับกุม ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ว่าด้วยการนั้นโดยเคร่งครัด
3.3 ที่ด่านตรวจหรือจุดตรวจ ต้องมีแผงกั้นที่มีเครื่องหมายการจราจรว่า “หยุด” โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ด่านตรวจหรือจุดตรวจ จะต้องมีในการติดตั้งป้ายและเครื่องหมายการจราจร และในเวลากลางคืนจะต้องให้มีแสงไฟส่องสว่างให้มองเห็นได้อย่าง ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตรก่อนถึงจุดตรวจ และให้มีแผ่นป้ายแสดงยศ ชื่อ นามสกุล และตำแหน่งของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประจำด่านตรวจและจุดตรวจดังกล่าวนอกจากนั้นให้มีแผ่นป้ายแสดงข้อความว่า “หากพบเจ้าหน้าที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบให้แจ้ง ผู้บังคับการ โทร……………….”(ให้ใส่หมายเลขโทรศัพท์ของ ผบก.ไว้ ข้อความดังกล่าวข้างต้นให้มองเห็นได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 15 เมตร
/ 3.4 …
3.4 การตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัด ให้ทุกหน่วยประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยใกล้เคียงให้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบติดต่อกัน โดยมิให้เกิดการตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัดซ้ำซ้อนอันเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้สัญจร ไปมาเป็นอันขาด
4. การควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติ
4.1 เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเริ่มต้น หรือเลิกปฏิบัติหน้าที่ประจำจุดตรวจหรือ จุดสกัด ให้รายงานทาง ว. ให้ผู้บังคับบัญชาผู้สั่งอนุมัติให้ตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัดดังกล่าวทราบ และเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติแล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำจุดตรวจ หรือจุดสกัดดังกล่าว รายงานผลการปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้สั่งอนุมัติภายในวันถัดไปเป็นอย่างช้า
4.2 ให้ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ระดับ สว. ขึ้นไป ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกตรวจการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำด่านตรวจ จุดตรวจหรือจุดสกัด ที่มีอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
4.3 ให้ถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาตาม 4.2 ที่จะต้องเอาใจใส่กวดขัน ดูแลการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใต้บังคับบัญชาของตน มิให้ฉวยโอกาสขณะปฏิบัติหน้าที่ประจำด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัด เรียกหรือรับผลประโยชน์จากผู้ใช้รถที่กระทำผิดกฎหมาย หรือไปดำเนินการจัดตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัด ในเขตเดินรถหรือทางหลวง โดยมิได้ รับคำสั่งจากผู้มีอำนาจ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ และหากตรวจพบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใดประพฤติมิชอบในลักษณะดังกล่าว ก็ให้รีบพิจารณาดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ผู้นั้น ไปตามอำนาจหน้าที่ ทั้งทางคดีอาญาและคดีวินัย แล้วรายงานให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น จนถึง ตร. ทราบโดยมิชักช้า โดยรายงานดังกล่าว ให้ระบุ ยศ นาม ตำแหน่งของข้าราชการตำรวจผู้กระทำผิด พร้อมกับรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะและพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดให้ละเอียดชัดเจน
4.4 หากปรากฎว่าผู้บังคับบัญชาในระดับตั้งแต่กองบังคับการหรือเทียบเท่าขึ้นไปหรือตำรวจอื่น สืบสวนข้อเท็จจริงจนปรากฏชัดเจน หรือตรวจตราพบว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ณ ด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัดที่ใด มีพฤติการณ์มิชอบดังกล่าว ตาม 4.3 หรือจับกุมตัวได้ โดยลักษณะของพฤติการณ์เป็นการกระทำร่วมหลายคน และ หรือ เป็นระยะเวลา
/ ต่อเนื่อง…
ต่อเนื่องกันหลายวัน ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาทัณฑ์ทางวินัย แก่ผู้บังคับบัญชาที่ใกล้ชิดของ เจ้าหน้าที่ตำรวจที่กระทำผิดดังลก่าวฐานบกพร้องละเลยไม่เอาใจใส่ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ของตนอีกส่วนหนึ่งด้วย
4.5 ให้ ผบช., ก., น., ภ.1 – 9 ตชด. และ จตร. ติดตามผลการปฏิบัติตามนัยบันทึกสั่งการนี้รายงานผลการปฏิบัติให้ ตร. ทราบภายในวันที่ 7 ของแต่ละเดือน ในรายงานให้ ปรากฏด้วยว่าได้มอบหมายให้ตรวจติดตาม และมีผลการปฏิบัติเป็นอย่างไร ทั้งนี้ให้ปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
5. ให้ยกเลิกหนังสือสั่งการของ ตร. ด่วนที่สุดที่ 0520.23/427 ลง 13 ม.ค.2536 เรื่อง มาตรการกวดขันเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด
เพื่อทราบและถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป
พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก
(ประชา พรหมนอก)